หน้าแรก:คำแนะนำและวิธีการใช้งานบทเรียน
ขอบข่ายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม
เรื่องที่ 2 การวิเคราะห์ปัญหา
เรื่องที่ 3 ผังงาน
เรื่องที่ 4 ลักษณะโครงสร้างผังงาน
เรื่องที่ 5 ซูโดโค้ด
เรื่องที่ 6 ภาษาคอมพิวเตอร์
เรื่องที่ 7 โครงสร้างโปรแกรมภาษาซี
เรื่องที่ 8 การติดตั้งโปรแกรมภาษาซี
เรื่องที่ 9 ตัวแปรภาษาซี

 

เรื่องที่ 10  ตัวดำเนินการในภาษาซี
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
ผู้จัดทำ
 
 
 
 
 
 
 

 


                      

   9.1 ชนิดของข้อมูลพื้นฐานและคำสงวนในภาษาซี

 

   9.2 ตัวแปรและค่าคงที่

 

 

 

 

 ตัวแปร (Variables)  

               คือ ชื่อเรียกแทนพื้นที่เก็บข้อมูลในหน่วยความจำ การกำหนดตัวแปรทำได้ 2 แบบ คือ

              1)  กำหนดไว้นอกกลุ่มคำสั่ง หรือ ฟังก์ชั่น  เรียกตัวแปรนี้ว่า Global Variable  กำหนดไว้นอกฟังก์ชั่น ใช้งานได้ทั้งโปรแกรม มีค่าเริ่มต้นเป็น 0 (กรณีไม่ได้กำหนดค่าเริ่มต้น)
              2)  กำหนดไว้ในกลุ่มคำสั่ง หรือ ฟังก์ชั่น  เรียกตัวแปรนี้ว่า  Local Variable  กำหนดไว้ภายในฟังก์ชั่น ใช้งานได้ภายในฟังก์ชั่นนั้น และไม่ถูกกำหนดค่าเริ่มต้นโดยอัตโนมัติ

              การประกาศตัวแปร  มีลักษณะดังนี้

              กฎในการตั้งชื่อตัวแปร   มีดังนี้
               1. ประกอบด้วยตัวอักษร  ตัวอักษรปนเลข  หรือปนเครื่องหมาย underscore ( _ ) ได้
               2. ตัวแรกจะต้องเป็นตัวอักษรหรือเครื่องหมาย underscore ( _ )  เท่านั้น
               3. ถ้าใช้  underscore เป็นส่วนของชื่อจะต้องอยู่ระหว่างตัวอักษรหรือตัวเลขเสมอ
               4. มีความยาวได้ตั้งแต่  1  ตัวอักขระ ไปจนถึง 32 ตัวอักขระ (เฉพาะเทอร์โบซ แต่บางเครื่องอาจได้น้อยหรือมากกว่านี้)
               5. ห้ามตั้งชื่อซ้ำกับคำสงวน (Reserved word)
               6. ชื่อที่ตั้งขึ้นแล้ว เขียนเป็นตัวพิมพ์เล็ก ตัวพิมพ์ใหญ่ หรือตัวพิมพ์ใหญ่ปนตัวพิมพ์เล็ก จะถือว่าเป็นคนละชื่อกันหมด เช่น  count, COUNT, Count  จะถือเป็น 3 ชื่อตัวแปรที่แตกต่างกัน

ชื่อตัวแปรที่ถูก

ชื่อตัวแปรที่ผิด

Count
Num12
m_mum

1count
num !
m..mun

 

   ข้อสังเกต   การกำหนดชนิดของตัวแปร มีสิ่งที่ควรพิจารณาอยู่  2  ประการ  คือ  ตัวแปรนั้นจะต้องสามารถรับค่าได้ทุกค่า โดยไม่เกินขอบเขตของข้อมูลชนิดนั้น และตัวแปรจะต้องไม่ใช้หน่วยความจำมากเกินความจำเป็น เช่น ถ้าข้อมูลไม่เกินขอบเขตของ  int  ก็ไม่ควรกำหนดตัวแปรให้เป็น  float


 

 ค่าคงที่ (Constant)  

               ค่าคงที่ (Constant) คือ ค่าของข้อมูลที่มีจำนวนแน่นอน เป็นค่าที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขณะรันโปรแกรม

                การระกาศค่าคงที่   มีลักษณะดังนี้

                 ตัวอย่าง   const  float  Pi = 3.1415;  
                                 
หมายความว่า Pi เป็นค่าคงที่ชนิด  float ซึ่งมีค่าเท่ากับ 3.1415

        การประกาศค่าคงที่ แบ่งตามชนิดต่าง ๆ ได้ดังนี้

              1) ค่าคงที่ชนิดตัวเลขจำนวนเต็ม  (integer  constant)
                        ค่าคงที่ชนิดนี้จะเป็นตัวเลขจำนวนเต็มซึ่งอาจมีเครื่องหมายบวกหรือลบก็ได้  เช่น  0, 9, 85, -698, 1832, -2080  เป็นต้น  โดยตัวเลขจำนวนเต็มที่จะสามารถเก็บได้ปรกติจะอยู่ในช่วง  -32768  ถึง  32767  เท่านั้น  บางครั้งเรานิยมเรียกค่าคงที่ชนิดนี้ว่าค่าคงที่  int  (integer)
                       สำหรับการเก็บค่าคงที่ชนิด  int  นี้ภายในหน่วยความจำ  จะใช้เนื้อที่  2  bytes  นอกจากนี้ยังสามารถเขียนค่าคงที่ชนิดนี้ให้อยู่ในรูปแบบตัวเลขฐานแปดและฐาน สิบหกได้  โดยใช้ตัวเลขศูนย์  (0)  นำหน้าแล้วตามด้วยเลขฐานแปดที่ต้องการหรือจะใช้ตัวเลขศูนย์เอ็กซ์  (0x  หรือ 0X)  นำหน้าแล้วตามด้วยเลขฐานสิบหกที่ต้องการ  เช่น  046,  027,  0xBD,  0X1BCF  เป็นต้น

            2) ค่าคงที่ชนิดตัวเลขทศนิยม  (floating  point  constant)
                       ค่าคงที่ชนิดนี้จะเป็นตัวเลขจำนวนทศนิยม  ซึ่งอาจจะมีเครื่องหมายบวก  หรือลบก็ได้  หรือเป็นตัวเลขที่สามารถเขียนอยู่ในรูป  E  ยกกำลังได้  เช่น  3.0,  0.234,  -0.54,  4E-06,  1.675E+10  เป็นต้น  โดยตัวเลขทศนิยมนี้จะสามารถเก็บได้ปรกติจะอยู่ในช่วง  1.2E-38  ถึง  3.4E+38  เท่านั้น
                      สำหรับการเก็บค่าคงที่ชนิด  float  นี้จะใช้เนื้อที่ภายในหน่วยความจำ  4  bytes  โดยที่  3  bytes  แรกจะเก็บค่าตัวเลขทศนิยม  ส่วนอีก  1  bytes  สุดท้ายจะเก็บค่ายกกำลังเอาไว้

            3) ค่าคงที่ตัวเลขทศนิยมที่มีความละเอียดสองเท่า  (double  floating  point)
                       ค่าคงที่ชนิดนี้นิยมเรียกว่า  ค่าคงที่แบบ  double  ซึ่งจะสามารถเก็บตัวเลขทศนิยมที่มีค่าอยู่ในช่วง  2.2E-308  ถึง  1.8E+308  เท่านั้น
                       สำหรับการเก็บค่าคงที่ชนิด  double  นี้  จะใช้เนื้อที่ภายในหน่วยความจำ  8  bytes  โดยใช้  7  bytes  แรกเก็บค่าตัวเลขทศนิยม  ส่วนอีก  1  bytes  สุดท้ายจะเก็บค่ายกกำลังเอาไว้  เช่นเดียวกับค่าคงที่ชนิด  float 

            4) ค่าคงที่ชนิดตัวอักขระตัวเดียว  (single  character  constant)
                       ค่าคงที่ชนิดนี้จะสามารถเก็บตัวอักขระได้เพียง  1  ตัวอักขระ  โดยอยู่ภายในเครื่องหมาย ‘ ’  (single  quotation)  เช่น  ‘5’,  ‘X’,  ‘c’  เป็นต้น
                       สำหรับการเก็บค่าคงที่ชนิด  single  character  constant  จะใช้เนื้อที่ภายในหน่วยความจำ  1  bytes 

            5) ค่าคงที่ชนิดข้อความ  (strings  constant)  
                        ค่าคงที่ชนิดนี้จะเก็บตัวอักขระที่มีความยาวตั้งแต่  1  ตัวขึ้นไป  โดยจะเก็บอยู่ในรูปของข้อมูลอะเรย์  (arrays)  ซึ่งในแต่ละตัวอักขระจะใช้เนื้อที่ในการเก็บ  1  bytes เรียงติดต่อกันไปจนกระทั้งจบข้อความ  และใน  byte  สุดท้ายจะเก็บ  \0  (null  character)  เอาไว้เพื่อเป็นการบอกว่า  จบข้อความแล้ว  การเขียนค่าคงที่ชนิดข้อความจะต้องเขียนอยู่ภายในเครื่องหมาย  “……”  (double  quotation)  เช่น  “X”,  ”computer”,  “4567”, “c”  เป็นต้น

            ตัวอย่าง   แสดงการเก็บข้อมูลชนิดข้อความ  คำว่า  “COMPUTER”  ภายในหน่วย
                       ความจำ  จะมีลักษณะดังนี้


แสดงการเก็บข้อมูลชนิดข้อความคำว่า  “COMPUTER”  ภายในหน่วยความจำ