หน้าแรก:คำแนะนำและวิธีการใช้งานบทเรียน
ขอบข่ายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม
เรื่องที่ 2 การวิเคราะห์ปัญหา
เรื่องที่ 3 ผังงาน
เรื่องที่ 4 ลักษณะโครงสร้างผังงาน
เรื่องที่ 5 ซูโดโค้ด
เรื่องที่ 6 ภาษาคอมพิวเตอร์

 

เรื่องที่ 7 โครงสร้างโปรแกรมภาษาซี
เรื่องที่ 8 การติดตั้งโปรแกรมภาษาซี
เรื่องที่ 9 ตัวแปรภาษาซี
เรื่องที่ 10  ตัวดำเนินการในภาษาซี
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
ผู้จัดทำ
 
 
 
 
 
 

 


 

                  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความเป็นมาและยุคต่าง ๆ ของภาษา
คอมพิวเตอร์

 

 

 

   6.1 ภาษาคอมพิวเตอร์

 

   6.2 ยุคของภาษาโปรแกรม

 

   6.3 ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรม

   6.4 ตัวแปลโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์

 

 

 

 

 

        

                ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์(Computer Programming Language) คือ ชุดคำสั่งที่นักเขียนโปรแกรม หรือโปรแกรมเมอร์ (Programmer) เขียนโปรแกรมซอร์สโค้ด (Source Code) ที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสาร ควบคุมการรับส่งข้อมูล และสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่นักเขียนโปรแกรมต้องการได้
                ซึ่งภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนั้น มีหลายภาษาให้เลือกใช้งาน ขึ้นอยู่กับความถนัดหรือความสามารถของนักพัฒนาโปรแกรม (Programmer) ที่จะเลือกใช้ภาษาโปรแกรมให้เหมาะกับโปรแกรมหรือเหมาะสมกับงานที่จะนำไปใช้ เช่น ภาษา C, ภาษา ASP, ภาษา Delphi, ภาษา
HTML เป็นต้น
                แต่ภาษาโปรแกรมต่าง ๆ เหล่านั้น รูปแบบการเขียนคำสั่งเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
จะเป็นการเรียบเรียงไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ตามรูปแบบคำสั่งของภาษาโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งใน
การประมวลผลคำสั่งภาษาโปรแกรมนั้น คอมพิวเตอร์จะไม่สามารถเข้าใจในคำสั่งต่าง ๆ เหล่านี้
ได้โดยตรง เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะเข้าใจและประมวลผลด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language)
หรือในรูปแบบของเลขฐานสอง (Binary digit) คือ เลข 0 และ เลข 1 เท่านั้น ดังนั้น จึงมีขั้นตอนใน
การแปลภาษาโปรแกรมต่าง ๆ ให้เป็นภาษาเครื่องหรือในรูปแบบเลขฐานสองก่อน โดยใช้
โปรแกรมแปลภาษา (Language Translator Program) เช่น แอสแซมเบลอร์ (Assembler),
คอมไพเลอร์ (Compiler) หรือ อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) คอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจและสามารถ
ประมวลผลตามคำสั่งของภาษาโปรแกรมต่าง ๆ เหล่านั้นได้
 

 

 

 

 

                ภาษาโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาใช้งานนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายภาษา
ซึ่งแต่ละภาษาจะมีคุณสมบัติและความเหมาะสมในการนำมาใช้ในการพัฒนาโปรแกรมแตกต่าง
กัน ซึ่งภาษาโปรแกรมที่ใช้งานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 5 ยุค ดังนี้
               
           ยุคที่ 1 : ภาษาเครื่อง (Machine Language)

                ภาษาเครื่อง เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับต่ำที่สุด ซึ่งคอมพิวเตอร์เข้าใจ
ได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านตัวแปลภาษาเพราะเขียนคำสั่งและแทนข้อมูลด้วยเลขฐานสอง (Binary
Code) ทั้งหมด ซึ่งเป็นการเขียนคำสั่งด้วยเลข 0 หรือ 1 ดังตัวอย่างคำสั่งภาษาเครื่อง ดังนี้

คำสั่งภาษาเครื่อง (Machine Code)

 

ความหมาย

0010 0000

 

โหลดข้อมูลจากหน่วยความจำ

0100 0000

 

ดำเนินการบวกข้อมูล

0011 0000

 

เก็บข้อมูลลงในหน่วยความจำ

                ก่อนปี ค.ศ. 1952 มีการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาเครื่องเพียงภาษาเดียว
เท่านั้นที่ใช้ ติดต่อกับคอมพิวเตอร์โดยตรง และคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีภาษาเครื่องแตกต่าง
กันขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์และหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processor
Unit: CPU) โดยมีรูปแบบคำสั่งเฉพาะเครื่อง

                ดังนั้นนักเขียนโปรแกรมจึงไม่นิยมที่จะเขียนโปรแกรมด้วยภาษาเครื่อง เพราะทำการ
แก้ไข และเขียนโปรแกรมได้ยากทำให้เกิดยุ่งยากในการจดจำ และเขียนคำสั่งต้องใช้เวลามากใน
การเขียนโปรแกรม รวมทั้งการหาข้อผิดพลาดจากการทำงานของโปรแกรม และโปรแกรมที่เขียน
ขึ้นทำงานเฉพาะคอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์เดียวกันเท่านั้น (Machine Dependent)

               ข้อดีของภาษาเครื่อง คือสามารถเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานคอมพิวเตอร์ได้
โดยตรง และสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างรวดเร็ว

           ยุคที่ 2 ภาษาแอสเซมบลี ( Assembly Language)

               ภาษาแอสเซมบลี จัดอยู่ในภาษาระดับต่ำ และเป็นภาษาที่พัฒนาต่อมาจากภาษา
เครื่องในปี ค.ศ. 1952 ภาษาแอสเซมบลีมีความใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก คือ 1 คำสั่งของ
ภาษาแอสเซมบลีจะเท่ากับ 1 คำสั่งของภาษาเครื่อง โดยที่ภาษาแอสเซมบลีจะเขียนคำสั่งเป็น
ตัวอักษรภาษาอังกฤษ เพื่อใช้แทนคำสั่งภาษาเครื่อง ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถเขียน
โปรแกรมได้ง่ายขึ้น โดยการจดจำรหัสคำสั่งสั้น ๆ ที่จำได้ง่าย ซึ่งเรียกว่า นิวมอนิกโค้ด
(Mnemonic code) เช่น

คำสั่งนิวมอนิกโคด
( Mnemonic code)

คำสั่งภาษาเครื่อง

ความหมาย

LOAD

0010 0000

โหลดข้อมูลจากหน่วยความจำ

ADD

0100 0000

ดำเนินการบวกข้อมูล

SUB

1101 0000

ดำเนินการลบข้อมูล

MOV

1001 0000

ย้ายข้อมูลเข้าออกจากหน่วยความจำ

STROE

0011 0000

เก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำ

                ตัวอย่างของคำสั่งภาษาแอสเซมบลี ดังตัวอย่าง เช่น

                    CALL MySub ;transfer of control

                    MOV AX, 5 ;data transfer

                    ADD AX, 20 ;arithmetic

                    JZ Next 1 ;logical (jump if zero)

                    IN A 1, 20 ;input/output (read from hardware port)

                    RET ;return

                เมื่อนักเขียนโปรแกรม เขียนโปรแกรมด้วยภาษาแอสเซมบลีแล้ว ต้องใช้ตัวแปล
ภาษาที่เรียกว่า แอสเซมเบลอ ( Assembler) เพื่อแปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง จึง
จะสามารถสั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้

                สรุปคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในยุคที่ 1 และที่ 2 จะต้องใช้
เทคนิคการเขียนโปรแกรมสูง เพราะมีความยืดหยุ่นในการเขียนน้อยมาก และมีความยากในการ
เขียนคำสั่งสำหรับผู้เขียนโปรแกรม แต่สามารถควบคุมและเข้าถึงการทำงานของเครื่อง
คอมพิวเตอร์ได้โดยตรง และมีความรวดเร็วกว่าการใช้ภาษาระดับอื่น ๆ

             ยุคที่ 3 ภาษาระดับสูง ( High-level Language)

                ภาษาระดับสูงถือว่าเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในยุคที่สาม ( Third-generation
language) ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในปี ค.ศ. 1960 โดยมีโครงสร้างภาษาและชุดคำสั่ง
เหมือนกับภาษาอังกฤษ รวมทั้งสามารถใช้นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ในการคำนวณได้ด้วย ทำให้ผู้
เขียนโปรแกรมสะดวกในการเขียนคำสั่งและแสดงผลลัพธ์ได้ตามต้องการ ลดความยุ่งยากใน
การเขียนโปรแกรมลงได้มาก ทั้งยังทำให้เกิดการใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลเพิ่มขึ้น
เช่น การควบคุมและสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม การแก้ปัญหาเฉพาะด้านทางด้าน
อุตสาหกรรม เช่น การควบคุมเครื่องจักรกลต่าง ๆ เป็นต้น

                การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงจะต้องใช้ตัวแปลภาษา ที่เรียกว่า คอมไพเลอร์
(Compiler) เพื่อแปลภาษาระดับสูงโดยการตรวจสอบไวยากรณ์ของภาษาระดับสูงไปเป็นภาษา
เครื่องเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่อไป โดยคอมไพเลอร์ของภาษาระดับสูงแต่ละ
ภาษาจะแปลเฉพาะภาษาของตนเอง และทำงานได้เฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดเดียวกัน
เท่านั้น เช่น คอมไพเลอร์ของภาษา COBOL บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จะแปลภาษาเฉพาะ
คำสั่งของภาษา COBOL และจะทำงานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมือนกันเท่านั้น ถ้าต้องการ
นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบอื่น ๆ เช่น เมนเฟรม จะต้องใช้คอมไพเลอร์ของภาษา
COBOL แบบใหม่

               ตัวอย่างของภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงได้แก่ ภาษา BASIC ภาษา COBOL ภาษา
FORTRAN และ ภาษา C ที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน สามารถเขียนโปรแกรมแก้ปัญหาเฉพาะ
ด้าน เช่น การควบคุมหุ่นยนต์ การสร้างภาพกราฟิก ได้เป็นอย่างดีเพราะมีความยืดหยุ่นและเหมาะ
กับการใช้งานทั่ว ๆ ไปได้

                สรุปภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 มีการเขียนโปรแกรมที่ง่ายกว่าในยุคที่ 2
สามารถทำงานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์หลายระดับ (Machine Independent) โดยต้องใช้ควบคู่
กับตัวแปลภาษา (Compiler or Interpreter) สำหรับเครื่องนั้น ๆ และมีความยืดหยุ่นในการแก้
ปัญหาได้มากกว่าภาษาระดับต่ำ

          ยุคที่ 4 ภาษาระดับสูงมาก ( Very high-level Language)

               ภาษาระดับสูงมากเป็นภาษา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ( Fourth-generation language)
ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมด้วยคำสั่งสั้น ๆ และง่ายกว่าภาษาในยุคก่อน ๆ มีการ
ทำงานแบบไม่จำเป็นต้องบอกลำดับของขั้นตอนการทำงาน ( Nonprocedural language) เพียง
นักเขียนโปรแกรมกำหนดว่าต้องการให้โปรแกรมทำอะไรเท่านั้นโดยไม่ต้อง ทราบว่าทำได้
อย่างไร ทำให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายและรวดเร็วกว่าภาษาระดับสูงในยุคที่ 3 ที่มีการเขียน
โปรแกรมแบบบอกขั้นตอนการทำงาน ( Procedural language) ภาษาระดับสูงมากทำงานเหมือน
กับภาษาพูดว่าต้องการอะไรและเขียนเหมือนภาษาอังกฤษ ดังตัวอย่าง เช่น

                    TABLE FILE SALES

                    SUM UNITS BY MONTH BY CUSTOMER BY PRODUCT

                    ON CUSTOMMER SUBTOTAL PAGE BREAK

                    END

                ข้อดีของภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 4

                    • การเขียนโปรแกรมจะสั้นและง่าย เพราะเน้นที่ผลลัพธ์ของงานว่าต้องการอะไร
โดยไม่สนใจว่าจะทำได้อย่าง ไร
                    • การเขียนคำสั่ง สามารถทำได้ง่ายและแก้ไข เปลี่ยนแปลงโปรแกรมได้สะดวก
ทำให้พัฒนาโปรแกรมได้รวดเร็วขึ้น
                    • ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้เร็ว โดยไม่ต้องเสียเวลาอบรม หรือ
มีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมหรือไม่ เพราะชุดคำสั่งเหมือนภาษาพูด
                    • ผู้เขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องทราบถึงฮาร์ดแวร์ ของเครื่องและโครงสร้างคำสั่ง
ของภาษาโปรแกรม

                ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 4 ประกอบด้วย Report Generators, Query
Language, Application Generators และ Interactive Database Management System Programs

                ภาษาที่ใช้สำหรับเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูลได้เรียกว่า ภาษาสอบถาม ( Query
languages) จัดเป็นภาษาในยุคที่ 4 ซึ่งสามารถใช้ค้นคืนสารสนเทศของฐานข้อมูล มาตรฐาน
ของภาษาชนิดนี้ขึ้นอยู่กับฐานข้อมูลที่แตกต่างกัน ที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ SQL(Structured
Query Language) และนอกจาก นี้ยังมีภาษา Query By Example หรือ QBE ที่ได้รับความนิยม
ในการใช้งาน

                Report Generator หรือ Report Writer คือโปรแกรมสำหรับผู้ใช้ ( End user) ที่ใช้สำหรับ
สร้างรายงาน รายงานอาจแสดงที่เครื่องพิมพ์หรือจอภาพก็ได้อาจจะแสดงทั้งหมดหรือบางส่วน
ของฐานข้อมูลก็ได้ อาจจะกำหนดรูปแบบบรรทัดคอลัมน์ส่วนหัวรายงาน และอื่น ๆ ได้

                Application Generators คือเครื่องมือของผู้เขียนโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างโปรแกรม
ประยุกต์จากการอภิปรายปัญหาได้เร็วกว่าการเขียนโปรแกรมทั่วๆไป

           ยุคที่ 5 ภาษาธรรมชาติ ( Natural Language)

                ภาษาธรรมชาติจัดเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า ( Fifth generation language)
คือ การเขียนคำสั่ง หรือสั่งงานคอมพิวเตอร์ทำงานโดยการใช้ภาษาธรรมชาติต่าง ๆ เช่น ภาพ
หรือ เสียง โดยไม่สนใจรูปแบบไวยากรณ์หรือโครงสร้างของภาษามากนัก ซึ่งคอมพิวเตอร์จะ
พยายามคิดวิเคราะห์ และแปลความหมายโดยอาศัยการเรียนรู้ด้วยตนเองและระบบองค์ความรู้
( Knowledge Base System) มาช่วยแปลความหมายของคำสั่งต่าง ๆ และตอบสนองต่อผู้ใช้งาน

                ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 5 เช่น

                    SUM SHIPMENTS BY STATE BY DATE

                ข้อดีของภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 5 คือผู้เขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรม
ได้เร็ว โดยไม่ต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม แต่คอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรแกรมต้องมีระบบรับ
คำสั่ง และประมวลผลแบบอัจฉริยะ สามารถตอบสนองและทำงานได้หลายแบบ

 

 

 

 

                ภาษาโปรแกรมในปัจจุบันนั้น มีมากมายหลายภาษาให้นักพัฒนาโปรแกรมได้เลือกใช้
งานตามความถนัด หรือตามความเหมาะสมกับระบบงานนั้น ๆ เช่น เป็นการพัฒนาเพื่อใช้ในงาน
ด้านการศึกษา การพัฒนาเพื่อนำไปใช้งานในด้านธุรกิจ หรือพัฒนาขึ้นมาใช้บนระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์เป็นต้น
               ตัวอย่างภาษาโปรแกรมที่นิยมใช้ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น

ภาษาคอมพิวเตอร์

การใช้งานหลัก

• FORTRAN
   (FORmula  TRANslator)

ใช้ในงานคำทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ หรือ
งานวิจัย การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หรือการวิเคราะห์
ทางเศรษฐศาสตร์ได้

• ALGOL
   (ALGOrithmic Language)

เริ่มต้นได้รับการออกแบบให้เป็นภาษาสำหรับงานวิทยา-
ศาสตร์ และต่อมามีการพัฒนาต่อเป็นภาษา PL/I และ Pascal

• COBOL  
   (Common Business
     Oriented  Language)

ใช้ในการประมวลผลแฟ้มข้อมูลขนาดใหญ่ การคำนวณทาง
ด้านธุรกิจบนเครื่องขนาดใหญ่

•  PL/I
    (Programming Language
     One)

ถูกออกแบบมาใช้กับงานทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ และธุรกิจ

• BASIC
   (Beginner's All-purpose
    Symbolic Instruction Code)

สำหรับผู้เริ่มศึกษาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ประยุกต์ใช้งานทางด้านวิทยาศาสตร์ และธุรกิจ

• Pascal
   (ชื่อของ Blaise Pascal)

นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทุกด้าน

• C และ C ++

สำหรับนักเขียนโปรแกรม ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ และโปรแกรม
ประยุกต์ต่างๆ

• LISP (LISt Processing)

ออก แบบโดยบริษัท IBM ในปี ค . ศ . 1968 เป็นภาษาที่
โต้ตอบ กับผู้ใช้ทันทีเหมาะสำหรับจัดการกับกลุ่มของข้อมูล
ที่สัมพันธ์กันในรูปแบบตาราง

• LOGO

นิยมใช้ในโรงเรียนเพื่อสอนทักษะการแก้ปัญหาให้กับนักเรียน

• PROLOG
   (PROgramming LOGic)

นิยมใช้มากในงานด้านปัญญาประดิษฐ์จัดเป็นภาษาธรรมชาติ
ภาษาหนึ่ง

• RPG
   (Report Program Generator)

ถูกออกแบบให้ใช้กับงานทางธุรกิจ จะมีคุณสมบัติในการ
สร้างโปรแกรมสำหรับพิมพ์รายงานที่ยืดหยุ่นมาก

           ภาษา C และ C++

              ภาษา C ถูกพัฒนาขึ้นโดย Dennis Ritchie ในปี ค.ศ. 1972 ที่ห้องปฏิบัติการเบลล์ของ
บริษัท AT&T เป็นภาษาที่ใช้เขียนระบบปฏิบัติการ UNIX ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความ
นิยมคู่กับภาษาซี และมีการใช้งานอยู่ในเครื่องทุกระดับ

              ภาษา C เป็นภาษาระดับสูงที่ได้รับความนิยมในหมู่นักเขียนโปรแกรมเป็นอย่างมาก
เนื่องจากภาษา C เป็นภาษาที่รวมเอาข้อดีของภาษาระดับสูงในเรื่องของความยืดหยุ่น และ
ไวยากรณ์ที่ง่ายต่อการเข้าใจกับข้อดีของภาษาแอสเซมบลีในเรื่องของประสิทธิภาพและความ
เร็วในการทำงาน ทำให้โปรแกรมที่พัฒนาด้วยภาษาซีทำงานได้เร็วกว่าโปรแกรมที่เขียนด้วย
ภาษาระดับสูงอื่น ๆ ในขณะที่การพัฒนาและแก้ไขโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายเช่นเดียวกับภาษา
ระดับสูงทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ภาษา C ยังได้มีการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปอีก โดยทำการประยุกต์
แนวความคิดของการโปรแกรมเชิงวัตถุเข้ามาใช้ในภาษา ทำให้เกิดเป็นภาษาใหม่คือ C++
(++ ในความหมายของภาษาซี คือ การเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งนั่นเอง) ซึ่งเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมใช้
ในงานพัฒนาโปรแกรมอย่างมาก

             ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C และ C++

                   #include <stdio.h>
                    #include <conio.h>
                    int   main()
                   {
                            int i, j;
                            printf("Put integer :");
                            scanf ("%d", &i);
                            printf("n========n");
                            j = 0;
                            while (i > j)
                           {
                            printf("%d\n", ++j);
                            }
                           getch();

                    }

            ภาษาเบสิก (BASIC)

                ภาษาเบสิก (Basic ย่อมาจาก Beginners All - purpose Symbolic Instruction Code) เป็น
ภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้พัฒนาโดย Dartmouth Collage แนะนำโดย John Kemeny และ Thomas
Krutz ในปี 1965 เป็นภาษาที่ใช้ง่ายและติดตั้งอยู่บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมาก ใช้สำหรับ
ผู้เริ่มต้นศึกษาการเขียนโปรแกรม และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากภาษา BASIC, QBASIC
ปัจจุบันเป็น Visual BASIC เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย สามารถประยุกต์ใช้งานได้ทั้งทาง
วิทยาศาสตร์และทางธุรกิจ

                ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา BASIC

                    CLS

                    PRINT “PLEASE ENTER A NUMBER”

                    INPUT NUMBER

                    DO WHILE NUMBER <> 999

                    SUM = SUM + NUMBER

                    vCOUNTER = COUNTER + 1

                    PRINT “PLEASE ENTER THE NEXT NUMBER”

                    INPUT NUMBER

                    LOOP

                    AVERAGE = SUM/COUNTER

                    PRINT “THE AVERAGE OF THE NUMBER IS”; AVERAGE

                    END

            ภาษาโคบอล (COBOL)

               ภาษาโคบอล เป็นภาษาระดับสูงที่ออกแบบมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 โดยสถาบันมาตรฐาน
แห่งสหรัฐอเมริกากับบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์หลายแห่ง และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจาก
มาตรฐานของภาษาโคบอลในปี 1968 กำหนดโดย The American National Standard Institute และ
ในปี 1974 ได้ออกมาตรฐานที่เรียกว่า ANSI - COBOL ต่อมาเป็น COBOL 85 ภาษาโคบอลเป็น
ภาษาที่ออกแบบให้ใช้กับงานทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี สำหรับการประมวลผลแฟ้มข้อมูลขนาด
ใหญ่ การคำนวณทางธุรกิจเช่นการจัดเก็บ เรียกใช้ และประมวลผลทางด้านบัญชี ตลอดจนทำงาน
ด้านการควบคุมสินค้าคงคลัง การรับและจ่ายเงิน เป็นต้น

              คำสั่งของภาษา COBOL จะคล้ายกับภาษาอังกฤษทำให้สามารถอ่านและเขียนโปรแกรม
ได้ไม่ยากนัก ในยุคแรก ๆ ภาษา COBOL จะได้รับความนิยมบนเครื่องระดับเมนเฟรม แต่ปัจจุบัน
นี้จะมีตัวแปลภาษา COBOL ที่ใช้บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ด้วย รวมทั้งมีภาษา COBOL ที่ได้
รับการออกแบบตามแนวทางเชิงวัตถุ (Object Oriented) เรียกว่า Visual COBOL ซึ่งจะช่วยให้การ
โปรแกรมสามารถทำได้ง่ายขึ้น และสามารถนำโปรแกรมที่เขียนไว้มาใช้ในการพัฒนางานอื่น ๆ อีก

              ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา COBOL

                    IF SALES-AMOUNT IS GREATER THAN SALES-QUOTA

                    COMPUTE COMMISSION = MAX-RATE * SALES - AMOUNT

                    ELSE

                    COMPUTE COMMISSION = MIN-RATE * SALES - AMOUNT

           ภาษาปาสคาล (Pascal)

               ภาษาปาสคาล เป็นภาษาที่ได้รับการพัฒนาโดยนิคลอส เวิร์ธ (Niklaus Wirth) แห่ง
สถาบันเทคโนโลยีของรัฐในเมืองซูริค (Zurick) ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อปี ค.ศ. 1968 ชื่อ
ของภาษานี้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสคนสำคัญ ที่ชื่อว่า Blaise Pascal
ภาษานี้ออกแบบมาเพื่อให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรม ง่ายต่อการเรียนรู้ แตกต่างกับภาษาเบสิก
ก็คือ ภาษาปาสคาลเป็นภาษาโครงสร้าง ( Structure Programming) นิยมใช้เป็นภาษาสำหรับการ
เรียนการสอนและการเขียนโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ภาษาปาสคาลมีตัวแปลภาษาทั้งที่เป็นแบบ
Interpreter และ Compiler โดยจะมีโปรแกรมเทอร์โบปาสคาล ( Turbo Pascal) ที่ได้รับความนิยม
อย่างสูงทั้งในวงการศึกษาและธุรกิจ เนื่องจากได้รับการปรับปรุงให้ตัดข้อเสียของภาษาปาสคาล
รุ่นแรก ๆ ออกไป

              ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Pascal

                    PROGRAM AVERAGE OF NUMBER:

                    VAR

                    COUNTER , NUMBER , SUM : INTEGER ;

                    AVERAGE : REAL ;

                    BEGIN

                            SUM := 0 ;

                            COUNTER := 0;

                            WRITELN (‘PLEASE ENTER A NUMBER');

                            READLN ( NUMBER);

                            WHILE NUMBER <> 999 DO

                            BEGIN (* WHILE LOOP *)

                                SUM := SUM + COUNTER;

                                WRITELN (‘PLEASE ENTER THE NEXT NUMBER');

                                READ ( NUMBER);

                           END ; (* WHILE LOOP *)

                           AVERAGE := SUM / COUNTER;

                          WRITELN (‘THE AVERAGE OF THE NUMBERS IS' , AVERAGE : 2 );

                    END.

           ภาษา Java

               ภาษา Java เป็นภาษาระดับสูงในยุคที่ 4 ที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ซึ่งเป็น
เทคนิคที่ใช้วัตถุ (Object) เป็นหลักในการพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ที่สนใจ ดังนั้นโปรแกรมที่เขียนด้วย
ภาษา Java ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มของ Object ถูกจัดกลุ่มในรูปของ Class โดยที่แต่ละคลาสมี
คุณสมบัติการถ่ายทอดลักษณะ (Inheritance) ภาษา Java ได้รับความนิยมอย่างสูง เนื่องจาก
โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา Java สามารถทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสภาวะแวดล้อมต่างกัน
ได้โดยไม่ขึ้นกับ แพลตฟอร์มใด ๆ (Platform Independent) เป็นภาษาที่มีไวยากรณ์เข้าใจง่าย
ดังตัวอย่างต่อไปนี้

                    class TestJava
                    {
                          public static void main(String[] args)
                         {
                         System.out.println("Hello World!");
                         }
 
                    }

          ภาษา Visual Basic

              ภาษา Visual Basic เป็นภาษาระดับสูงในยุคที่ 4 พัฒนาโดยบริษัท Microsoft ในปี
ค.ศ. 1987 แต่เริ่มได้รับความนิยมในปี ค.ศ.1991 นับว่าเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาแรกที่มี
เครื่องมือ เป็นภาพกราฟิกคอยอำนวยสะดวกในการเขียนโปรแกรม และได้รับความนิยมในการ
พัฒนาโปรแกรมบน Windows เพราะมีหลักการเขียนโปรแกรมแบบ Event – Driven ซึ่งเป็นการเขียน
โปรแกรมเพื่อกำหนดการทำงานให้กับ Control ต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นตามเหตุการณ์ (Event) ที่เกิดขึ้น
เช่น การคลิกเมาส์ของผู้ใช้ หรือการรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด เป็นต้น

               ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Visual Basic

                    Private Sub Form_Load()
                    Dim i As Integer
                    For i = -5 To 5
                    If i < 0 Then
                    MsgBox i &" เป็นตัวเลขจำนวนเต็มลบ ", vbOKOnly + vbInformation, "Show"
                    Else
                    MsgBox i &" เป็นตัวเลขจำนวนเต็มบวก ", vbOKOnly + vbInformation, "Show"
                    End If
                    Next
                    End Sub

 

 

 

 

 

            ตัวแปลภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการแปลความหมายของคำสั่งในภาษาคอมพิวเตอร์ชนิดต่าง ๆ ไปเป็นภาษาเครื่อง ซึ่งเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ และทำงานตามคำสั่งได้ โดยโปรแกรมที่เขียนเป็นโปรแกรมต้นฉบับ หรือ ซอร์สโค้ด (Source code) ซึ่งโปรแกรมเมอร์เขียนคำสั่งตามหลักการออกแบบโปรแกรม และจำเป็นต้องใช้ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อตรวจสอบไวยากรณ์ของภาษาว่าเขียนถูกต้องหรือไม่ และทดสอบผลลัพธ์ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งภาษาคอมพิวเตอร์ชนิดต่าง ๆ จะมีตัวแปลภาษาของตนเองโดยเฉพาะ โปรแกรมที่แปลจากโปรแกรมต้นฉบับแล้วจะเรียกว่า ออบเจ็คโค้ด ( Object code) ซึ่งเป็นภาษาเครื่องที่ประกอบด้วย รหัสคำสั่งที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้ต่อไป

          ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์  มีการใช้งานสำหรับการแปลภาษาคอมพิวเตอร์ชนิดต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

             1. แอสเซมเบลอร์ ( Assembler)

                     เป็นตัวแปลภาษาแอสเซมบลีซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำ ให้เป็นภาษาเครื่อง

            2. อินเทอร์พรีเตอร์ ( Interpreter)

                     เป็นตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงไปเป็นภาษาเครื่อง โดยใช้หลักการแปลคำสั่งครั้งละ 1 คำสั่งให้เป็นภาษาเครื่อง แล้วนำคำสั่งที่เป็นภาษาเครื่องนั้นไปทำการประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ทันที หากไม่พบข้อผิดพลาด หลังจากนั้นจะแปลคำสั่งถัดไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะจบโปรแกรม ในระหว่างการแปลคำสั่ง ถ้าหากพบข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ของภาษา โปรแกรมอินเทอร์พรีเตอร์ก็จะหยุดการทำงานพร้อมแจ้งข้อผิดพลาดให้ทำการแก้ไข ซึ่งทำได้ง่ายและรวดเร็ว แต่ออบเจ็คโค้ดที่ได้จากการแปลคำสั่งโดยใช้อินเทอพรีเตอร์นั้นไม่สามารถเก็บไว้ใช้ใหม่ได้ จะต้องแปลโปรแกรมใหม่ทุกครั้งที่ต้องการใช้งาน ทำให้โปรแกรมทำงานได้ค่อนข้างช้า

            3. คอมไพเลอร์ ( Compiler)

                     เป็นตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงไปเป็นภาษาเครื่อง โดยทำการตรวจสอบความถูกต้องของการเขียนคำสั่งทั้งหมดทั้งโปรแกรมให้เป็นออบเจ็คโค้ด แล้วจึงทำการแปลคำสั่งไปเป็นภาษาเครื่อง จากนั้นจึงทำทำการประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ หากพบข้อผิดพลาดของการเขียนโปรแกรม หรือมีคำสั่งที่ผิดหลักไวยากรณ์ของภาษาคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมไพเลอร์จะแจ้งให้โปรแกรมเมอร์ทำการแก้ไขให้ถูกต้องทั้งหมดก่อน แล้วจึงคอมไพล์ใหม่อีกครั้ง จนกว่าไม่พบข้อผิดพลาดถึงจะนำโปรแกรมไปใช้งานได้

                    ข้อดีของคอมไพเลอร์ คือ โปรแกรมออบเจ็คโค้ดที่ได้จะรวบรวมคำสั่งที่สำคัญในการรันโปรแกรม และได้โปรแกรมที่ทำงานเองได้ หรือ Execute Program ซึ่งสามารถทำงานได้ไม่จำกัด ไม่ต้องเสียเวลาในการแปลใหม่ทุกครั้ง ทำให้การทำงานของโปรแกรมเป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงเป็นรูปแบบการแปลที่ได้รับความนิยมอย่างมาก

            ในปัจจุบัน มีหลักการแปลภาษาคอมพิวเตอร์แบบใหม่เกิดขึ้น คือ แปลจากซอร์สโค้ด ไปเป็นรหัสชั่วคราว หรือ อินเทอมีเดียตโค้ด ( Intermediate Code) ซึ่งสามารถนำไปทำงานได้ด้วย การใช้โปรแกรมในการอ่าน และทำงานตามรหัสชั่วคราวนั้น โดยโปรแกรมนี้จะมีหลักการทำงานคล้ายกับอินเทอพรีเตอร์ แต่จะทำงานได้เร็วกว่าเนื่องจากรหัสชั่วคราวจะใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก มีข้อดีคือสามารถนำรหัสชั่วคราวนั้นไปใช้ได้กับทุก ๆ เครื่องมี่มีโปรแกรมตีความได้ทันที