หน้าแรก:คำแนะนำและวิธีการใช้งานบทเรียน

ขอบข่ายเนื้อหา

เรื่องที่ 1 ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม

เรื่องที่ 2 การวิเคราะห์ปัญหา

เรื่องที่ 3 ผังงาน

เรื่องที่ 4 ลักษณะโครงสร้างผังงาน

เรื่องที่ 5 ซูโดโค้ด
เรื่องที่ 6 ภาษาคอมพิวเตอร์

 

เรื่องที่ 7 โครงสร้างโปรแกรมภาษาซี

เรื่องที่ 8 การติดตั้งโปรแกรมภาษาซี

เรื่องที่ 9 ตัวแปรภาษาซี
เรื่องที่ 10  ตัวดำเนินการในภาษาซี
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
ผู้จัดทำ
 
 
 
 
 
 
 

 

 



คำแนะนำ

         1.  แบบทดสอบแบ่งเป็น  2  ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 แบบทดสอบเป็นแบบปรนัย  4  ตัวเลือก
              มีจำนวน  10  ข้อ  10  คะแนน
         2.  ตอนที่  2 ภาคปฏิบัติ แบบอัตนัย  1  ข้อ  10  คะแนน
         3.  ตอนที่ 1 ให้นักเรียนคลิกตัวเลือกที่เห็นว่าถูกที่สุดเพียงข้อเดียว และเมื่อทำแบบทดสอบครบ
              ทุกข้อแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม  "ตรวจคำตอบ"  จะทราบคะแนนทันที


ตอนที่ 1

ข้อที่ 1 :  สัญลักษณ์ที่ใช้แทนคำสั่งสื่อสารสั่งงาน ระหว่างมนุษย์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หมายถึงข้อใด

   ก. ฮาร์ดแวร์
   ข. ซอฟต์แวร์
   ค. ระบบปฏิบัติการ
   ง. ภาษาคอมพิวเตอร์
ข้อที่ 2 :  ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามที่ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบไว้ หมายถึงใคร

   ก. ผู้ใช้
   ข. ผู้จัดการระบบ
   ค. โปรแกรมเมอร์
   ง. นักวิเคราะห์ระบบ

ข้อที่ 3 :  ข้อใดเป็นภาษาของคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4

   ก. ระบบเลขฐาน 2
   ข. สัญลักษณ์หรือคำย่อ
   ค. อะนาล็อค
   ง. แอสแซมบลี
ข้อที่ 4 :  ภาษาเครื่อง เป็นภาษาที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ยุคใด

   ก.   1
   ข.   2
   ค.   3
   ง.   4

ข้อที่ 5 : ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ ภาษาเครื่องและภาษาระดับสูง

   ก. ภาษาเครื่องคือภาษาที่นักเขียนโปรแกรมเข้าใจ ส่วนภาษาระดับสูงคือภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ
   ข. ภาษาเครื่องคือภาษาที่คอมพิวเตอร์สามารถนำไปประมวลผลได้ทันที ส่วนภาษาระดับสูงคือภาษาที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถนำไปประมวลผลได้ทันที
   ค. ภาษาเครื่องคือภาษาที่อยู่ในรูปแบบรหัสภาษาอังกฤษที่อ่านเข้าใจง่าย ส่วนภาษาระดับสูงคือภาษาที่อยู่ในรูปแบบรหัสเลขฐานสอง ประกอบด้วยบิต 0 และบิต 1
   ง. ถูกทุกข้อ

ข้อที่ 6 :  ข้อใดจัดเป็นภาษาระดับต่ำ

   ก.  ภาษาเครื่อง  
   ข.  ภาษาซี
   ค.  ภาษาปาสคาล
   ง.  ภาษาโคบอล

ข้อที่ 7 : โปรแกรมภาษาใดต่างจากพวก

   ก. Pascal
   ข. JAVA
   ค. C
   ง. Cobal
ข้อที่ 8 : ลักษณะของภาษาต้องใช้งานกับระบบฐานความรู้หรือระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นภาษาที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ยุคใด

    ก.   2
    ข.   3
    ค.   4
    ง.   5
ข้อที่ 9 :  โปรแกรมที่ทำการแปลภาษาคอมพิวเตอร์ที่นักเขียนโปรแกรมเขียนขึ้นให้เป็นภาษาเครื่อง หมายถึงข้อใด

   ก. ตัวแปลภาษา
   ข. แอสแซมบลี
   ค. ปาสคาล
   ง. ซี

ข้อที่ 10 :  ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องระหว่างโปรแกรมแปลภาษาประเภทอินเทอร์พรีเตอร์และคอมไพเลอร์

   ก. อินเทอร์พรีเตอร์ แปลภาษาคอมพิวเตอร์ให้เป็นภาษาเครื่อง ส่วนคอมไพเลอร์แปลภาษาเครื่อง ให้เป็นภาษาคอมพิวเตอร์
   ข. อินเทอร์พรีเตอร์ แปลภาษาเครื่องให้เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ส่วนคอมไพเลอร์แปลภาษาคอมพิวเตอร์ ให้เป็นภาษาเครื่อง
    ค. อินเทอร์พรีเตอร์ แปลภาษาคอมพิวเตอร์ทีละโปรแกรม ส่วนคอมไพเลอร์แปลภาษาคอมพิวเตอร์ทีละคำสั่ง               
   ง. ถูกทุกข้อ


        

ตอนที่ 2 : ภาคปฏิบัติ  แบบทดสอบนี้เป็นแบบอัตนัย ให้นักเรียนปฏิบัติตามคำสั่งต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
                (1  ข้อ  เก็บคะแนน  10  คะแนน)

               1. จงเขียนแผนผังความคิด หรือ Mind Map สรุปภาษาคอมพิวเตอร์  ยุคของภาษาโปรแกรม ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรม และตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์