หน้าแรก:คำแนะนำและวิธีการใช้งานบทเรียน
ขอบข่ายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม
เรื่องที่ 2 การวิเคราะห์ปัญหา
เรื่องที่ 3 ผังงาน
เรื่องที่ 4 ลักษณะโครงสร้างผังงาน
เรื่องที่ 5 ซูโดโค้ด
เรื่องที่ 6 ภาษาคอมพิวเตอร์
เรื่องที่ 7 โครงสร้างโปรแกรมภาษาซี
เรื่องที่ 8 การติดตั้งโปรแกรมภาษาซี

 

เรื่องที่ 9 ตัวแปรภาษาซี
เรื่องที่ 10  ตัวดำเนินการในภาษาซี
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
ผู้จัดทำ
 
 
 
 
 
 
 

 


                      สาระการเรียนรู้
 

   8.1 แนะนำโปรแกรม Dev-C++

 

   8.2 การติดตั้งโปรแกรม Dev-C++

 

   8.3 การตั้งค่าเริ่มต้นใช้โปรแกรม Dev-C++

   8.4 การทำงานพื้นฐานของโปรแกรม Dev-C++

 

     ทดลองสร้างโปรแกรมแรกโดยใช้โปรแกรม Dev-C++

 

        - การสร้าง source file , การบันทึกไฟล์

 

        - การคอมไฟล์ (compile) โปรแกรม

 

        - การรัน (Run) โปรแกรมหรือเรียกโปรแกรมทำงาน

 

 

ส่วนประกอบของโปรแกรม Dev-C++

           โปรแกรม Dev-C++ ประกอบด้วย  6  ส่วนหลัก ๆ คือ

           (1) ส่วนของไตเติลบาร์ (Title Bar)  เป็นแถบที่อยู่บนสุดของโปรแกรม มีสีน้ำเงิน และจะมีชื่อของชุดพัฒนาโปรแกรมภาษาซี คือ Dev-C++   
           (2) ส่วนของเมนูบาร์ (Menu Bar)  ส่วนนี้เป็นส่วนของเมนูคำสั่งต่าง ๆ 11 รายการคือ File  Edit   Search   View   Project   Execute   Debug    Tools  CVS   Window   Help
           (3) ส่วนของทูลบาร์ (Tool Bars)  เป็นส่วนของเครื่องมือ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนและพัฒนาโปรแกรม ซึ่งจะคล้ายกับการใช้เมนู แต่สามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ บนแถบเครื่องมือแทนการทำงานผ่านเมนู
           (4) ส่วนของการแสดง Project/Classes/Debug  เป็นส่วนที่อยู่ทางด้านซ้ายของโปรแกรม ใช้เพื่อแสดง Project หรือ Class ต่าง ๆ ของโปรแกรม
           (5) ส่วนของพื้นที่การเขียนโปรแกรม (Editor)  เป็นส่วนของพื้นที่ทำงานในการเขียนโค๊ดโปรแกรมภาษา C 
           (6) ส่วนแสดงสถานะของโปรแกรม (Status)  อยู่ด้านล่างสุด ใช้เพื่อบอกสถานะต่าง ๆ ในขณะที่กำลังพัฒนาโปรแกรม เช่น จำนวนบรรทัดทั้งหมด หรือสถานะการพิมพ์แทรก/พิมพ์ทับ



ภาพแสดงส่วนประกอบของโปรแกรม Dev-C++

การใช้งานเมนูต่าง ๆ ของโปรแกรม Dev-C++

      เมนู  File   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้

             New --> เพื่อสร้างไฟล์ใหม่
             Open Project or File --> เพื่อเปิดไฟล์หรือโปรเจ็กซ์ที่ได้ทำงาน และบันทึกไว้แล้ว
             Save --> เพื่อบันทึกไฟล์
             Save As --> เพื่อบันทึกไฟล์เป็นชื่อใหม่ หรือเพื่อบันทึกลงในโฟลเดอร์อื่น
             Save All --> เพื่อบันทึกไฟล์หรือโปรเจ็กซ์ทั้งหมด ที่เปิดทำงานอยู่
             Close --> เพื่อปิดไฟล์ที่กำลัง Active อยู่
             Close All --> เพื่อปิดไฟล์หรือ โปรเจ็กซ์ทั้งหมด ที่เปิดอยู่
             Exit --> เพื่อปิดโปรแกรม Bloodshed Dev-C++

      เมนู  Edit   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้

              Undo --> เลิกทำหรือยกเลิกการทำงาน
              Redu --> ให้ทำซ้ำงานที่เพิ่งทำผ่านไป
              Cut --> ตัดข้อความที่ทำแถบสีนำไปไว้ใน คลิปบอร์ด
              Copy --> คัดลอกข้อความที่ทำแถบสี นำไปไว้ใน คลิปบอร์ด
              Paste --> ให้วาง ปะ หรือ แปะ ข้อความที่ได้ Cut หรือ Copy ไว้แล้ว มาวางลงในตำแหน่งของเคอร์เซอร์
              Insert --> ทำการแทรก
                    1. วันที่ (Date/Time) ลงใน Editor
                    2. Comment header ส่วนที่เป็นหมายเหตุในการพัฒนาโปรแกรมลงบนส่วนหัวของ Editor
              Select All --> เลือกโค้ด หรือข้อความทั้งหมด ที่อยู่ใน Editor

      เมนู  Search   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้

              Find --> ค้นหาคำ หรือข้อความใน Editor
              Search Again --> ให้ค้นซ้ำ หรือค้นหาต่อไปอีก
              Replace --> ให้แทนที่คำที่ค้นหา ด้วยคำใหม่

      เมนู  View   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้

               Project/Class Browser --> เพื่อแสดงหรือไม่แสดง Project/Class Browser
               Statusbar --> เพื่อแสดงหรือไม่แสดง Statusbar
               Toolbars --> เพื่อแสดงหรือไม่แสดง Toolbars ต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย
                       Main Toolbar
                       Edit Toolbar
                       Search Toolbar
                       Compile and run Toolbar
                       Project Toolbar
                       Options Toolbar
                       Special Toolbar
                       Class Toolbar

      เมนู  Project   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้

               New file--> เพื่อสร้างไฟล์ใหม่ในโปรเจค         
         
      Add to Project --> เพื่อ add ไฟล์เข้าไปเก็บไว้ในโปรเจค
               Remove from Project --> เพื่อย้ายไฟล์ออกจากโปรเจค

      เมนู  Execute   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้

                 Compile (Ctrl+F9) --> สั่งให้ทำการ Compile ซอร์สโค้ด เมื่อ Compile แล้วจะได้ไฟล์ใหม่ที่มีส่วนขยายเป็น .exe
                Run (Ctrl+F10) --> สั่งให้โปรแกรมทำงาน
                Compile & Run (F9) --> ให้ทำการ Compile และ Run โปรแกรม
                Rebuild All (Ctrl+F11) --> ให้สร้างไฟล์ .exe ใหม่ แทนที่ไฟล์เดิม

      เมนู  Debug   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้

      เมนู  tools   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้

                  Editor Options --> เป็นการตั้งค่าสภาพแวดล้อมให้กับ Editor เช่น ให้มีหมายเลขบรรทัดเป็นต้น

      เมนู  CVS   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้

      เมนู  Window   ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้

             Close All --> ปิดวินโดว์ส ของ Editor ทั้งหมด
             Full Screen Mode --> ให้วินโดว์สแสดงแบบเต็มจอ ถ้าต้องการยกเลิกแบบ Full Screen ให้ click ที่ X เพื่อนปิดวินโดว์ส
             Next --> ให้แสดงวินโดว์สของ Editor ถัดไป
             Previous --> ให้แสดงวินโดว์สของ Editor ก่อนหน้า

      เมนู  Help    ส่วนใหญ่เป็นเมนูเกี่ยวกับการ ขอความช่วยเหลีอ ซึ่งก็ไม่สามารถ ให้รายละเอียดได้เพียงพอ ประกอบด้วยเมนูย่อย ๆ ที่ควรรู้จักดังนี้

             Help on Dev-C++ --> ขอความช่วยเหลือในโปรแกรม Dev-C++
             Customize Help Menu--> ปรับแต่ง Help Menu  เช่น การเพิ่มเมนูเข้าไป Help Menu
             Tip of the day --> แนะนำเทคนิคการใช้งานโปรแกรม
             About Dev-C++ --> รายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรม Dev-C++

ทดลองสร้างโปรแกรมแรกโดยใช้โปรแกรม Dev-C++

      ขั้นตอนที่ 1   การสร้าง Source File
 

             ทำการสร้าง Source File ซึ่ง Source File คือ ไฟล์ที่เก็บโค้ดโปรแกรมของเราไว้ เพื่อเอาไว้ใช้ Compile ต่อไป วิธีสร้างให้ไปที่   File --> New --> Source File หรือ ใช้คีย์ลัดกดปุ่ม Ctrl+N

              เมื่อได้ Source File แล้ว ทำการพิมพ์โค๊ด (Code) โปรแกรมลงบนพื้นที่การเขียนโปรแกรม (Editor) ดังภาพด้านล่าง

                ทำการบันทึก (Save) โดยไปคลิกที่เมนู  File --> Save หรือกดปุ่มคีย์ลัด Ctrl + S ทำการบันทึกชื่อไฟล์ว่า helloworld.cpp ดังภาพ

       

  ขั้นตอนที่ 2   การ Complie (คอมไพล์) โปรแกรม

             การ Complie คือการตรวจสอบ Source Code ที่เขียนว่าถูกต้องตามโครงสร้างของภาษาหรือไม่ วิธี Complie คือ   Execute --> Complie  หรือ  กดคีย์ลัดที่แป้นพิมพ์ Ctrl + F9

              ถ้าเราพิมพ์โค๊ดโปรแกรมถูกต้อง โปรแกรมจะทำการแปลงเป็น Object File ที่มีนามสกุล .o เพื่อลิ้งค์ กับโค้ดในไลบราลี่ จนได้ไฟล์ นามสกุล .exe เพื่อเอาไว้เรียกทำงานต่อไป


ภาพแสดงหน้าต่างกรณี Compile สำเร็จ

              ถ้าโปรแกรม Complie ได้สำเร็จจะได้ไฟล์ นามสกุล .exe  ซึ่งเป็นไฟล์ที่เสร็จสมบูรณ์พร้อมใช้งาน ดังภาพ

              ถ้าโปรแกรมทำการ Compile ไม่สำเร็จ เนื่องจากเกิดข้อผิดพลาด อาจจะเขียน Source Code ผิด ซึ่งก็จะทำให้ Complie ไม่สำเร็จและโปรแกรม Dev-C++ จะแสดงบรรทัดที่อาจเกิดการผิดพลาดมาให้ดู ดังภาพ

ภาพแสดง ถ้า Complie ไม่สำเร็จ ก็จะมี Error Message บอกว่า Error อะไรบ้าง กี่บรรทัด
ซึ่งตัวอย่างจากรูป มี Error 1 บรรทัด (ดูจากคอลัมภ์ Line ของตาราง Error Message)

 

  ขั้นตอนที่ 3   การเรียกโปรแกรมทำงาน (รันโปรแกรม)

             การรันโปรแกรม คือ การเรียกโปรแกรมที่เราเขียนขึ้นมาทำงาน

                     - วิธีการ Run คือคลิกที่เมนู  Execute --> Run หรือคีย์ลัด Ctrl + F10 

 

ภาพแสดงตัวอย่างผลการ Run โปรแกรม ซึ่งจะปรากฎให้เห็นบน Dos Mode